S-Zx webboard
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ความผิดพลาดที่มักพบบ่อย ในการสอบเอ็นทรานซ์

2 posters

Go down

ความผิดพลาดที่มักพบบ่อย ในการสอบเอ็นทรานซ์ Empty ความผิดพลาดที่มักพบบ่อย ในการสอบเอ็นทรานซ์

เธ•เธฑเน‰เธ‡เธซเธฑเธงเธ‚เน‰เธญ  NiNg 5/5/2008, 15:02

การสอบเอ็นทรานซ์ถือได้ว่าเป็นช่วงชีวิตที่สำคัญที่สุดช่วงหนึ่งของคนไทยส่วนหนึ่งที่มีโอกาสร่ำเรียนจนกระทั่งสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แต่กระนั้นก็ตามก็เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นที่สุดช่วงหนึ่งเช่นกัน เมื่อถึงฤดูกาลสอบเอ็นทรานซ์ไม่ว่าจะเป็นระบบเก่าหรือระบบปัจจุบันก็มักจะมีข่าวคราวเกี่ยวกับการสอบ การประกาศผลสอบอะไรต่างๆ แต่มีอยู่สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำไม่ว่าจะเป็นการสอบครั้งใดและสื่อมวลชนก็ดูเหมือนจะไม่มีการพูดถึงแต่อย่างใด ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งแต่ก็เล็กเกินไปที่จะเป็นประเด็น นั่นก็คือ "ความผิดพลาดต่างๆที่เกิดขึ้นในการสอบเอ็นทรานซ์" บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาที่จะประจานผู้สมัครที่กระทำผิดพลาดในขั้นตอนต่างๆ จนทำให้เกิดปัญหากับตัวผู้สมัครคนนั้นแต่อย่างใด หากแต่จะหยิบเอาความผิดพลาดเหล่านั้นมาพิจารณาดูว่าอะไรคือสาเหตุ แล้วทำไมจึงเกิดขึ้น และสุดท้ายก็คือเมื่อเกิดปัญหานี้ขึ้นแล้วจะแก้ไขปัญหาอย่างไร บทความนี้จะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อช่วยเหลือน้องๆ ที่กำลังเข้าสู่สนามสอบเอ็นทรานซ์ไม่ให้เกิดความผิดพลาดชนิดที่เรียกว่า "ตายน้ำตื้น" ขอเชิญติดตามครับ...

1. เตรียมเอกสารที่ใช้ประกอบการสมัครไม่ครบถ้วนตามที่กำหนด ในระเบียบการรับสมัครสอบวัดความรู้ หรือแม้แต่ระเบียบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อฯ ก็มีการระบุไว้อย่างชัดเจนว่าผู้สมัครจะต้องเตรียมอะไรไปบ้าง แต่ในบางครั้งด้วยความตื่นเต้นก็อาจทำให้ลืมนั่นลืมนี่ บางคนพอไปถึงสถานที่รับสมัครแล้วก็เพิ่งนึกออกว่าลืมเอาหลักฐานชิ้นนั้นมาต้องเสียเวลากลับไปเอา ยิ่งไปกว่านั้นบางทีกลับมาสมัครไม่ทันตามกำหนดก็เสียสิทธิไปอย่างน่าเสียดาย ผมจึงขอแนะนำวิธีแก้ลืมโดยการทำรายการเป็น checklist ไว้เลยว่าต้องเตรียมอะไรบ้าง แล้วดูว่าเตรียมครบหรือยัง ถ้าให้ดีก็ให้สมาชิกในบ้านช่วยกันดูด้วยครับ เรียกว่าสอบเอ็นทรานซ์ทั้งทีขอมีส่วนร่วมกันทั้งบ้านเลยว่างั้นเถอะ!

2. กรอกใบสมัครไม่สมบูรณ์ ประเด็นนี้ก็สำคัญเหมือนกันครับจึงขอแยกมาจากข้อ 1. ในระเบียบการสมัครฯ จะมีการอธิบายวิธีการกรอกใบสมัครอย่างละเอียดทีเดียว แต่ก็มีบางจุดที่คลุมเครือจนผู้สมัครหลายรายทำผิดพลาดมาแล้ว โดยเฉพาะในการกรอกรหัสประจำตัวนักเรียน สมัยผมเรียนอยู่ชั้น ม.6 มีเพื่อนเข้ามาถามว่าจะกรอกรหัสประจำตัวยังไง?? ผมก็บอกไปว่าเอาเฉพาะเลขประจำตัว 5 หลัก (โรงเรียนของผมใช้เลข 5 หลัก) แล้วเวลาเขียนก็ให้ชิดขวาตลอด ทีนี้เพื่อนผมก็ถามต่อว่า 2 หลักหน้าสุดล่ะ?? ผมก็บอกไปว่าใส่ "0" (ศูนย์) ลงไปทั้ง 2 หลักแค่นั้นเองครับ ซึ่งวิธีที่ผมแนะนำไปนี้ก็เป็นวิธีการหนึ่งที่ถูกต้อง

อีกจุดหนึ่งที่ผิดพลาดกันเป็นประจำ หลายคนเข้าใจว่าการกรอกรหัสไปรษณีย์ให้กรอกตามที่อยู่ในทะเบียนบ้าน แต่ท่านเข้าใจผิด ครับ ผมกล้าพูดเช่นนี้ก็เพราะว่าในตัวใบสมัครก็ระบุไว้อย่างชัดเจนอยู่แล้วว่า "ที่อยู่ที่ติดต่อได้สะดวก" ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน ถ้าหากว่าท่านไม่ได้อยู่ ณ ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน ยกตัวอย่างเช่น นาย ก. เกิดที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และชื่อก็อยู่ในทะเบียนบ้านที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แต่พอโตขึ้น นาย ก. เข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ แต่ไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้านตามตัวมาด้วย ถ้านาย ก. จะกรอกใบสมัครว่าอยู่ที่ไหนก็ต้องกรอกว่าอยู่ กรุงเทพมหานคร เพราะว่าเป็นที่อยู่ที่ติดต่อนาย ก.ได้สะดวกที่สุด เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างสำคัญครับ เพราะถ้าท่านได้รับจดหมายจากทาง สกอ. ล่าช้า ท่านอาจไม่ทราบว่าข้อมูลที่ทาง สกอ. ส่งมาให้ท่านนั้น เป็นอะไร ข้อมูลสำคัญหรือไม่ หรือว่าต้องการแจ้งข่าวอะไรหรือเปล่า ยกตัวอย่างเช่น นางสาว ญ. ที่อยู่ตามทะเบียนบ้านที่ จ.อุดรธานี ต่อมาย้ายตามครอบครัวไปอยู่ จ.ชลบุรี แต่ไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้านตามไปด้วย เวลานางสาว ญ. กรอกใบสมัครก็กรอกไปว่าอยู่ จ.อุดรธานี ทีนี้เวลา สกอ. จะส่งใบแจ้งสถานที่สอบ หรือใบแจ้งคะแนนสอบก็จะส่งไปที่ จ.อุดรธานี แต่ปรากฏว่าตัวของนางสาว ญ. ไม่ได้อยู่ที่อุดรฯ กว่านางสาว ญ. จะได้รับจดหมายที่ทางญาติที่อุดรฯ ส่งมาให้ที่ชลบุรีก็สายไปเสียแล้ว คือไม่ทราบสถานที่สอบ ทำให้ไม่ได้ไปสอบ

แนวทางแก้ไขก็ง่ายนิดเดียวครับ "ตัวอยู่ไหน จดหมายก็ส่งไปที่นั่น" อย่างกรณีที่ยกมาข้างต้น นางสาว ญ. ต้องกรอกที่อยู่ในใบสมัครว่า "ชลบุรี" ไม่ใช่ "อุดรธานี" นะครับ

3. กรอกรหัสชุดวิชา/รหัสรายวิชาผิด ปัญหานี้ดูไม่ร้ายแรงเท่าไหร่ครับ เพราะว่าท่านสามารถยกเลิกการสมัครได้ทันทีที่ชำระเงินและได้บัตรประจำตัวผู้สอบแล้ว หลังจากนั้นก็ทำการสมัครใหม่ได้ แต่ข้อควรระวังอย่างหนึ่งที่เคยมีคนทำพลาดมาแล้วก็คือทำการสมัครซ้ำซ้อน หมายความว่า ในการสมัครสอบวันเดียวกันแต่สมัครถึง 2 รอบโดยไม่ได้ยกเลิกการสมัครรอบก่อน ถ้าเกิดกรณีนี้ขึ้นก็จะทำให้การสมัครครั้งก่อนเป็นโมฆะทันที

ต่อไปเราจะก้าวเข้าสู่สนามสอบกันแล้วนะครับ ขอเชิญติดตามต่อไป...

4. เมื่อเข้าห้องสอบก็เปิดข้อสอบทันที เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ครับ ร้ายแรงมาก บางคนตื่นเต้นจัด บางคนทนรอไม่ได้แล้วเดี๋ยวที่อ่านไว้จะหายไปหมดก็ชิงเปิดข้อสอบทำทันที ถ้าเกิดเรื่องนี้ขึ้น ท่านอาจมีความผิดฐานทุจริตในการสอบได้ ซึ่งท่านจะไม่มีคะแนนเลยแม้แต่วิชาเดียวและอาจถูกตัดสิทธิการเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาถึง 3 ปี ยกเว้นแต่ว่ากรรมการคุมสอบอนุญาตให้กรอกใบปะหน้าข้อสอบ ตรงนั้นก็ทำได้ครับ แต่ท่านยังไม่มีสิทธิแกะลวดเย็บกระดาษที่เย็บปึกข้อสอบออกจากกันจนกว่าจะมีสัญญาณให้เริ่มทำข้อสอบ ผมอยากจะบอกว่าหลายคนเกิดความเคยชินตอนอยู่ในโรงเรียนมัธยม พอเข้าห้องสอบก็เปิดข้อสอบทันทีเลย หรือบางคนกลัวทำไม่ทันก็ชิงเปิดข้อสอบก่อน แต่เวทีการสอบเอ็นทรานซ์ยิ่งใหญ่กว่านั้นครับ กฎกติกาก็เข้มงวดยิ่งขึ้น อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ กรรมการคุมสอบเท่านั้นที่จะบอกได้

วิธีแก้ไขง่ายๆ ก็คือพอกรรมการคุมสอบให้เข้าไปนั่งประจำที่แล้ว เตรียมอุปกรณ์เครื่องเขียนทุกอย่างให้พร้อม นั่งทำสมาธิไปพลางก่อน อย่าเพิ่งทำอะไรทั้งสิ้นยกเว้นอ่านใบปะหน้าทำความคุ้นเคยกับปึกข้อสอบ

5. กรอก/ฝนข้อมูลในกระดาษคำตอบผิดวิธี บางคนสงสัยว่าทำไมตัวเองได้ "0" (ศูนย์) คะแนน ทั้งๆ ที่ตัวก็ไปสอบ หรือบางคนสงสัยว่าตัวเองมั่วยังไงถึงผิดหมดเลย ทั้งๆ ที่ก่อนเข้าห้องสอบก็ท่องหนังสือเรื่องความน่าจะเป็นมาแล้วว่าโอกาสที่จะมั่วถูกยังพอมี!! พอนึกไปนึกมา... อ้าว!! เรากรอกรหัสประจำตัวผู้สอบผิดนี่หว่า!!

อีกกรณีหนึ่งที่พบบ่อยก็คือการฝนกระดาษคำตอบไม่เข้มพอ บางคนใช้ดินสอที่มีความแข็งแต่ไม่เข้ม อันนี้ก็คงฝนนานหน่อยกว่าจะเข้มเต็มวง ดีไม่ดีก็อาจจะทะลุไปด้านหลังก็ได้ และบางทีก็มีบางคนอยากแก้ไขตัวเลือกแต่ลบรอยดินสอไม่หมด กลายเป็นรอยปื้นๆ อยู่ ทีนี้คอมพิวเตอร์จะตีความว่าท่านฝนคำตอบมากกว่า 1 คำตอบ ท่านก็จะพลาดคะแนนในข้อนั้นไปอย่างน่าเสียดาย

วิธีแก้ไขก็ง่ายนิดเดียวอีกแล้วครับ ในใบปะหน้าข้อสอบจะระบุไว้อย่างชัดเจนว่าให้ใช้ดินสอเบอร์ 2B ท่านก็ปฏิบัติตามนั้นเถอะครับ ไม่ยุ่งยากด้วย ถามว่าทำไมต้องเป็น 2B?? คำตอบง่ายๆ ก็คือความเข้มขนาดนี้ไม่มากและไม่น้อยไป เวลาฝนเบาๆ ก็เข้มได้ และเวลาจะลบก็ลบได้อย่างสะอาดหมดจด บางคนแบกดินสอวาดเขียนเบอร์ EE มาใช้ก็เข้มจัดไปอีก ลบทีหนึ่งเป็นรอยปื้นไปทั่วกระดาษคำตอบ อยากจะบอกว่ากรรมการคุมสอบเขาไม่ให้เปลี่ยนกระดาษคำตอบนะครับ

กรณีต่อไป... ในการกรอกคำตอบวิชาที่มีข้อสอบแบบอัตนัย (วิชา 04: คณิตศาสตร์ 1, 05: เคมี, 06: ฟิสิกส์, 09: คณิตศาสตร์ 2, 16: พื้นฐานทางวิศวกรรม) ท่านจะต้องกรอกให้เต็มทุกหลักเสมอ ในกระดาษคำตอบชนิดอัตนัยจะมีทั้งหมด 10 ข้อ แต่ถึงเวลาจริงๆ ก็ใช้ไม่กี่ข้อหรอกครับ ขึ้นอยู่กับแต่ละวิชา แต่กระดาษคำตอบสำหรับกรอกแต่ละข้อจะมีลักษณะเหมือนกันคือมีช่องให้กรอกตัวเลข 4 หลัก และทศนิยมอีก 2 หลัก การกรอกและการฝนกระดาษคำตอบจะต้องใช้ทุกหลักไม่ว่าคำตอบของท่านจะมีกี่หลักก็ตาม ตัวอย่างเช่น คำตอบของท่านคือ 13.14 กรณีนี้จะเห็นว่าเลขหน้าจุดทศนิยมมีไม่ครบ 4 หลัก วิธีกรอกก็คือให้ชิดขวาเสมอ เหมือนกับการกรอกรหัสประจำตัวนักเรียนในใบสมัครสอบ ส่วนหลักที่ไม่ได้กรอกให้กรอกเลข "0" (ศูนย์) ตามกรณีนี้ในกระดาษคำตอบของท่านจะต้องเป็น 0013.14 ไม่ใช่ 13.14 แล้วก็ไม่ใช่ 1300.14 ด้วยครับ อีกตัวอย่างหนึ่ง สมมติว่าคำตอบของท่านคือ 0.79 จะเห็นว่าไม่มีตัวเลขหน้าจุดเลยยกเว้น "0" ดังนั้นในการกรอกและฝนตัวเลขในกระดาษคำตอบจะเป็น 0000.79 ไม่ใช่ 0.79 และไม่ใช่ .79 ด้วยครับ (คือไม่ได้กรอกตัวเลขหน้าจุดทศนิยมเลย)

อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของกระดาษคำตอบจะมีเจ้าหน้าที่พยายาม screen ความถูกต้องในการกรอกและฝนตัวเลขก่อนอยู่แล้วแต่ก็น่าจะมีความผิดพลาดอยู่ดี ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้เข้าสอบที่ต้องทำให้ถูกต้องด้วยตัวเอง (อย่าหวังว่าเจ้าหน้าที่เขาจะแก้ไขคำตอบของท่าน นะครับ เพราะถ้าถูกจับได้ก็จะมีความผิดทางวินัย)

ตอนนี้สอบเสร็จแล้วนะครับ ต่อไปก็จะมาสู่ขั้นตอนการประกาศผลสอบบ้าง ขอเชิญติดตาม...

6. ไม่พิจารณาคะแนนของตัวเองให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจเลือกคณะไหน บางคนอยากเข้าคณะนั้นใจจะขาด แต่คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ เช่น อยากเข้าคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่คะแนนสอบวิชาภาษาอังกฤษไม่ถึง 30 คะแนน ด้วยรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรืออะไรก็แล้วแต่พอถึงขั้นตอนการเลือกคณะก็เลือกไป ปรากฏว่าไม่ได้ อันนี้ก็แสดงว่าขาดคุณสมบัติเรื่องคะแนนสอบวิชาภาษาอังกฤษนั้นเองซึ่งระบุอย่างชัดเจนว่าท่านต้องมีคะแนนวิชาภาษาอังกฤษไม่น้อยกว่า 30 คะแนน

หรือว่าบางคนคิดว่าคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์แค่ 1 คะแนน ก็น่าจะหลุดรอดสายตาไปได้ แต่ประทานโทษ... ท่านกำลังเล่นกับคอมพิวเตอร์อยู่นะครับไม่ใช่ Human Beings เพราะฉะนั้นจะมาไม้ไหนก็เสร็จคอมพิวเตอร์หมดทุกราย ที่บ้าระห่ำไปกว่านั้น... บางคนอยากวัดดวงกับคอมพิวเตอร์ว่าใครจะฉลาดกว่ากันก็เลยประชดเลือกทั้ง 4 อันดับที่ขาดคุณสมบัติเรื่องคะแนนสอบหมดเลย ก็ปรากฏว่าไม่ได้แม้แต่คณะเดียว ผลก็คือคอมพิวเตอร์ชนะขาดทั้ง 2 ราย...!!

ตอนนี้รู้คะแนนสอบตัวเองแล้วนะครับ ต่อไปก็จะมาสู่ขั้นตอนการเลือกคณะบ้าง ขอเชิญติดตาม...

7. ขาดคุณสมบัติเฉพาะในบางสาขาวิชา บางคนไม่ศึกษาให้ถี่ถ้วนว่าระเบียบการได้บังคับคุณสมบัติเฉพาะไว้ เช่น ต้องจบสายวิทย์-คณิต เท่านั้น หรือว่าต้องผ่านการฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมาแล้ว หรือว่าต้องได้หน่วยกิตวิชานั้นวิชานี้ไม่น้อยกว่าเท่านั้นเท่านี้หน่วยการเรียน เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้มีเป็นประจำและเป็นผลให้ผู้สมัครรายนั้นไม่ได้รับการจัดอันดับนั้นไปเลย พูดง่ายๆ ก็คือนอกจากจะไม่ได้รับการพิจารณาอันดับการเลือกนั้นๆ แล้ว สำหรับผู้ที่น้ำทะเลยังเรียกพี่ก็อาจบ่นเสียดายเงินค่าสมัครจัดอันดับด้วย

8. ติดแถบรหัสคณะ/ประเภทวิชาไม่ถูกต้อง การติดแถบรหัสผิดจาก 0090 กลายเป็น 0600 หรือว่า 0169 กลายเป็น 6910 เป็นต้น เกิดขึ้นเป็นประจำ ทำให้บางคนถึงกับร้องไห้ฟูมฟายว่า "ตูไม่น่าติดแถบรหัสผิดเลย!!" วิธีแก้ไขก็ไม่ยากนะครับ เราอย่าเพิ่งใจร้อนพอตัดแถบรหัสมาก็แปะพรวดลงในใบสมัครเลย ผมแนะให้ตัดมาพร้อมกับชื่อคณะ/ประเภทวิชาด้วยครับ แล้วดูให้ดีว่าจะใช้รหัสไหน พอแน่ใจว่าจะใช้รหัสนี้ก็ลงมือตัดเลย แล้วค่อยติดลงในใบสมัครอย่างมั่นใจ

NiNg
นักขุดมือ 1
นักขุดมือ 1

เธˆเธณเธ™เธงเธ™เธ‚เน‰เธญเธ„เธงเธฒเธก : 356
Registration date : 30/04/2008

เธ‚เธถเน‰เธ™เน„เธ›เธ‚เน‰เธฒเธ‡เธšเธ™ Go down

ความผิดพลาดที่มักพบบ่อย ในการสอบเอ็นทรานซ์ Empty Re: ความผิดพลาดที่มักพบบ่อย ในการสอบเอ็นทรานซ์

เธ•เธฑเน‰เธ‡เธซเธฑเธงเธ‚เน‰เธญ  Admin 5/5/2008, 18:41

ขอบคุงงับ Surprised

Admin
Admin
Admin

เธˆเธณเธ™เธงเธ™เธ‚เน‰เธญเธ„เธงเธฒเธก : 214
ที่อยู่ : หลังต้นไม้
Registration date : 29/04/2008

http://z-club.darkbb.com

เธ‚เธถเน‰เธ™เน„เธ›เธ‚เน‰เธฒเธ‡เธšเธ™ Go down

เธ‚เธถเน‰เธ™เน„เธ›เธ‚เน‰เธฒเธ‡เธšเธ™


 
Permissions in this forum:
เธ„เธธเธ“เน„เธกเนˆเธชเธฒเธกเธฒเธฃเธ–เธžเธดเธกเธžเนŒเธ•เธญเธš